กำลังโหลดข้อมูล กรุณารอสักครู่ ...
เตรียมสอบรอง-ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาประถม/มัธยมศึกษา    ผู้บริหารการศึกษา  หน้าแรก


เป้าหมายการจัดการศึกษา

 

เพื่อพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ มีโอกาสลดความเลื่อมล้ำ เพื่อให้มีชีวิตที่ดีและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

More...
เป้าหมายการจัดการศึกษา

ปณิธานของพวกเรา

 

มุ่งมั่นเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติเพื่อปวงชน เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ลดความเลื่อมล้ำ พัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อศิษย์เพื่อชีวิตที่มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

More...
ปณิธานของพวกเรา
<-Less
ข้อมูลพื้นฐาน
Access มุมสมาชิก
 
   Access to management
User
Password
ภาค ก(๑๐๐ คะแนน)ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานในหน้าที่ และความสามารถในการวิเคราะห์ กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและการนำไปใช้
๑. วิชาความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานในหน้าที่ (คะแนน ๕๐ คะแนน)
๒. วิชาความสามารถในการวิเคราะห์กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และการนำไปใช้ ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน (คะแนน ๕๐ คะแนน)
    ๑.๑ ยุทธศาสตร์ชาติ
    ๑.๒ แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา
    ๑.๓ นโยบายของรัฐบาล นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปัจจุบัน
    ๑.๔ การบริหารและการจัดการคุณภาพการศึกษา
    ๑.๕ การบริหารงาน การสร้างเครือข่าย และการประสานความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษากับองค์กรหรือบุคคลภายนอก
    ๑.๖ การบริหารและการกำกับดูแลด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากร และการบริหารงานทั่วไปในเขตพื้นที่การศึกษา
    ๑.๗ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    ๑.๘ บทบาท อำนาจ หน้าที่ วินัย คุณธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารการศึกษา
 
 
ข้อมูลสารสนเทศ
   สรุป แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙
   ๒.๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
   ๒.๒ กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
   ๒.๓ กฎหมายว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรม
   ๒.๔ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
   ๒.๕ กฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
   ๒.๖ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
   ๒.๗ กฎหมายว่าด้วยเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครู
   ๒.๘ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
   ๒.๙ กฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ
   ๒.๑๐ กฎหมายว่าด้วยคุ้มครองเด็ก
   ๒.๑๑ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ
   ๒.๑๒ กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
   ๒.๑๔ กฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
   ๒.๑๕ กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
   ๒.๑๖ กฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
   ๒.๑๗ กฎหมายว่าด้วยลูกเสือ
   ๒.๑๘ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
   ๒.๑๙ ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ
   ๒.๒๐ กฎ ระเบียบ คำสั่ง และกฎหมายอื่น ที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่
 
ลิ้งค์แนะนำ(เปิดหน้าต่างใหม่)
    รัฐธรรมนูญ ทั้งหมด
    พระราชบัญญัติ เกี่ยวกับการศึกษา
    คำสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    พระราชกฤษฏีกา เกี่ยวกับการศึกษา
    กฎกระทรวง เกี่ยวกับการศึกษา
    กฏ ออกตามความในกฎหมายระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา
    ประกาศ เกี่ยวกับการศึกษา
    ระเบียบ เกี่ยวกับการศึกษา
Breaking News
  Latest News

ข้อต้อนรับสู่รั้ว บริหารการศึกษา เตรียมสอบ รอง-ผอ.เขต 65

 
Social Network
 

กคศ. สภาการศึกษา  กลุ่มสรรหาพัฒนาบุคลากร  กระทรวงศึกษาธิการ  สพฐ. 

 
Statistic & Counter

ขณะนี้ออนไลน์: 1 คน

สถิติวันนี้:      43 คน

สถิติเดือนนี้:   1299 คน

สถิติปีนี้:        15043 คน

สถิติทั้งหมด: 41945 คน

 

มาตรา ๑๕๒ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจํานวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร จะเข้าชื่อกันเพื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริง หรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี โดยไม่มีการลงมติก็ได้


เมื่อ [2023-02-09 06:53:49]

กระทรวงศึกษาธิการ 8 กุมภาพันธ์ 2566 – นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมเตรียมข้อมูลประกอบการอภิปรายทั่วไป เพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 152 ของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์นี้

รองปลัด ศธ. กล่าวว่า ที่ประชุมได้จัดเตรียมข้อมูลประกอบการอภิปรายทั่วไป มาตรา 152 ในส่วนของนโยบายและผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ ใน 6 ประเด็นที่สำคัญ ดังนี้

1. ความปลอดภัยของผู้เรียน

  • MOE Safety Center ศธ.ได้จัดตั้ง “ศูนย์ความปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ” เพื่อช่วยเหลือดูแลนักเรียน นักศึกษา ให้มีความปลอดภัยทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงสร้างทักษะให้ดูแลตนเองจากอันตรายทางสังคมตาม 3 มาตรการ “ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปราม” ผ่านแพลตฟอร์ม ต่าง ๆ ในการแจ้งเหตุความไม่ปลอดภัยและติดตามข่าวสาร
  • การแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเด็กและเยาวชน ศธ.ให้ต้นสังกัดทั้งรัฐและเอกชนเร่งสร้างการรับรู้ความเข้าใจที่มาจากบุหรี่ไฟฟ้า ยึดกฎ ระเบียบ เช่นเดียวกับการห้ามสูบบุหรี่ธรรมดา ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 ที่กำหนดให้โรงเรียนหรือสถานศึกษาเป็นเขตปลอดบุหรี่ทั้งหมด พร้อมออกมาตรการและนโยบายให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมขับเคลื่อนระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
  • แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับกัญชาหรือกัญชงในสถานศึกษา ส่วนราชการหรือหน่วยงานในสังกัดหรือในกำกับของ ศธ. มีการประกาศแนวทางการปฏิบัติ ห้ามนักเรียน นักศึกษา หรือบุคลากรในส่วนราชการใช้กัญชาหรือกัญชง (ยกเว้นภายใต้การควบคุมของแพทย์) ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกัน
  • โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ตามกระบวนการ 5 ด้าน “ป้องกัน ค้นหา ดูแลบำบัดรักษา เฝ้าระวัง และบริหารจัดการ” โดยร่วมกำกับควบคุมร้านค้าที่จำหน่ายบริเวณสถานศึกษา ส่วนราชการ และร่วมพัฒนาองค์ความรู้จัดทำคู่มือ “รู้คิด รู้ทันป้องกันยาเสพติด Be Smart Say No To Drugs”
  • การบูลลี่ในโรงเรียน ศธ.ได้ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาบูลลี่ในสถานศึกษาอย่างเข้มข้นมากขึ้น โดยวางมาตรการต่าง ๆ ให้รัดกุม สร้างการรับรู้ให้เด็กนักเรียนพร้อมรับมือ และให้ครูที่มีบทบาทหน้าที่ช่วยงดูแลพฤติกรรมนักเรียนอย่างทั่วถึง แนะแนวปัญหาสุขภาพจิตให้เด็กกล้าพูด กล้าระบายปัญหาต่าง ๆ โดยไม่เปิดเผยข้อมูล เพื่อให้นักเรียนมีความปลอดภัยในทุกมิติ
  • การล่วงละเมิดทางเพศนักเรียน  ศธ.ได้กำชับสถานศึกษาเรื่องการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศ หากครูและบุคลากรทำผิดต้องดำเนินการทางกฎหมายและลงโทษทางวินัยอย่างเคร่งครัด ส่วนนักเรียนผู้ถูกกระทำ ต้องเข้าไปช่วยเหลือดูแลเยียวยาจิตใจ โดยครูแนะแนว นักจิตวิทยา และหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกับผู้ปกครอง

2. คุณภาพการศึกษา

  • โครงการโรงเรียนคุณภาพ ศธ.พัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาเพื่อให้นักเรียนเข้าถึงคุณภาพ มีทักษะหลากหลายด้าน เมื่อจบหลักสูตรสามารถประกอบอาชีพได้ มีกลุ่มเป้าหมาย 349 แห่ง พร้อมสนับสนุนงบประมาณเพื่อยกระดับคุณภาพโรงเรียนในเครือข่าย ด้านการเรียนการสอน พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษา คุณภาพสื่อห้องเรียนคุณภาพ จัดสรรครูสอนภาษาอังกฤษและภาษาจีน และด้านโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนงบประมาณปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างและซ่อมแซม รวมทั้งสิ้นกว่า 4,000 ล้านบาท
  • การดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีภาวะที่ถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) สถานการณ์การ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนไม่เต็มศักยภาพ การเรียนออนไลน์วิชาต่าง ๆ ที่บ้านผ่านผู้ปกครองทำให้ขาด “ทักษะทางสังคมมิติ” ในปีการศึกษา 2565 ศธ. มุ่งเน้นให้เป็น “ปีแห่งการเสริมสร้างการศึกษา” โดยเร่งแก้ไขฟื้นฟูการเรียนรู้ช่วงที่สูญเสียไปให้คืนกลับมาเร็วที่สุด ผ่าน “Screening Learning Loss” เพื่อพัฒนานักเรียนให้ได้รับทั้งความรู้ พัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และพัฒนาทักษะครบทุกด้านโดยใช้กิจกรรม “Active Learning” ควบคู่กัน
  • การขับเคลื่อนนโยบาย Coding For All : All For Coding ส่งเสริมการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) มุ่งเน้นการพัฒนาครูและนักเรียน ให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ มีตรรกะ สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้มีความพร้อมในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการบรรลุเป้าหมายนโยบายประเทศไทย 4.0 เปลี่ยนโฉมบทบาทครูยุคใหม่จาก “ผู้สอน” เป็น “ผู้อำนวยความรู้” กว่า 400,000 คน สอดคล้องกับการพัฒนากำลังคนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

3. เสริมสร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

  • พาน้องกลับมาเรียน/ กศน.ปักหมุด สร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส เร่งแก้ไขปัญหาเด็กตกหล่นและออกกลางคัน กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาโดยบูรณาการความร่วมมือ 11 กระทรวง พัฒนา Application “พาน้องกลับมาเรียน” เพื่อค้นหา ติดตามนักเรียนตกหล่น ปัจจุบันพาเด็กกลับมาเรียนได้แล้วร้อยละ 99.51
  • สร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ โครงการ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” เพื่อการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ สร้างทางเลือกสำหรับผู้เรียนสายอาชีพ และพานักเรียนที่ตกหล่นกลับเข้าสู่ระบบมาตรฐานในสถานศึกษาของรัฐ ระยะเวลาโครงการ 10 ปี (ปีงบประมาณ 2565 – 2575)  สร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชนมากกว่า 100,000 คน โดยระยะที่ 1 รุ่นที่ 1 (ปวช.1) จำนวน 3,256 คน พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณแก่สถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 88 แห่ง เพื่อนำไปปรับปรุงอาคารสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งเตรียมเจ้าหน้าที่ ครูพี่เลี้ยงดูแลหอพักให้มีความพร้อมที่สุด
  • Smart Devices “คนละเครื่อง พี่แบ่งให้… น้องได้เรียน” ศธ.ให้ความสำคัญกับการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำด้านโอกาส สร้างภูมิคุ้มกันทางดิจิทัลอย่างมีคุณภาพให้กับผู้เรียน จึงขับเคลื่อนการดำเนินงานสนับสนุนอุปกรณ์สำหรับใช้ในการเรียนของนักเรียนร่วมกัน โดยจัดหาอุปกรณ์ให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาในสังกัดที่ขาดแคลน โดยมีผู้บริจาคเงินสมทบในระยะแรกกว่า 2.6 แสนบาท และอุปกรณ์ Smart Devices จำนวน 82 เครื่อง แก่สถานศึกษาขนาดกลาง ระดับมัธยมศึกษาที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย (ยากจน ขาดแคลน) ส่งต่อให้กับนักเรียนที่ขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนยืมเรียน และจัดทำแผนและงบประมาณเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่สนับสนุนวงเงินงบประมาณ 3,000 ล้านบาท
  • เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เด็กทุกคนต้องได้รับการศึกษาภาคบังคับ 12 ปี และได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 15 ปี โดยรัฐจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ด้วยปัจจัยหลายด้านในปัจจุบันอาจไม่เพียงพอกับความต้องการ ศธ.จึงได้ปรับอัตราเงินอุดหนุนฯ ตามความจำเป็นพื้นฐาน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 จำนวน 4 รายการ ได้แก่ 1) ค่าจัดการเรียนการสอน 2) ค่าอุปกรณ์การเรียน 3) ค่าเครื่องแบบ และ 4) ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ปรับเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันไดต่อเนื่องถึง พ.ศ. 2569) จำนวนกว่า 54,00 ล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจสังคมที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้เรียนและเพิ่มศักยภาพสถานศึกษา
  • การปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวัน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้ค่าอาหารกลางวันไม่เพียงพอ ศธ.เห็นความสำคัญของสุขภาพนักเรียน ควรได้รับประทานอาหารเหมาะสมตามหลักโภชนาการ จึงดำเนินการปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันนักเรียนระดับเด็กเล็ก – ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เฉลี่ยเป็น 29 บาท/คน/วัน (จากเดิม 21 บาท/คน/วัน) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งเป็นอัตราค่าอาหารกลางวันที่เหมาะสม กับนักเรียนในปัจจุบัน คาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 30,000 ล้านบาท ครอบคลุมนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 5,792,119 คน (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนของนักเรียนในแต่ละโรงเรียน)

4. การพัฒนาและดูแลครู

  • การประเมินวิทยฐานะครูตามเกณฑ์ PA ที่ผ่านมาได้กำหนดมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ ตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูฯ โดยบูรณาการตัวชี้วัดร่วมกันระหว่างการประเมินวิทยฐานะ การประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือน และการประเมินเพื่อคงวิทยาฐานะ ทำให้ลดความซ้ำซ้อนในการประเมิน และลดภาระงานของผู้ประเมินและผู้รับการประเมิน รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือเกี่ยวกับการประเมินวิทยฐานะ โดยการนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการประเมิน ทำให้ระบบการประเมินโดยรวมมีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และความคล่องตัว โดยพัฒนาระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (Digital Performance Appraisal : DPA) เพื่อใช้ประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูฯ ตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ ทั้งนี้มีผู้ที่ยื่นคำขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะผ่านระบบ DPA แล้วรวมทั้งสิ้น 43,067 คน
  • การแก้ไขปัญหาหนี้สินครู การดำเนินงานในระยะแรกกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาหนี้สินครูโดยใช้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูต้นแบบเป็นฐาน โดยดำเนินการศึกษาสหกรณ์ออมทรัพย์ครูตัวอย่าง จำนวน 2 แห่ง (สอ.ครู สมุทรปราการและกำแพงเพชร) และขยายผลไปยังสหกรณ์ออมทรัพย์ครูต้นแบบ จำนวน 37 แห่ง ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมามีผลสำเร็จหรือประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายได้รับเชิงรูปธรรม อาทิ
    – การลดดอกเบี้ยเงินกู้ : โดยขอความร่วมมือจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั่วประเทศ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อช่วยลดภาะค่าใช้จ่ายครูและบุคลากรมีสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้น ปัจจุบันมีสหกรณ์ออมทรัพย์ครู 70 แห่ง ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง ร้อยละ 0.05-1.0 ทำให้ครูได้รับประโยชน์จากการลดดอกเบี้ย
    – ชะลอการดำเนินการทางกฎหมาย โดย ศธ.เจรจาสถาบันการเงิน ชะลอการฟ้องร้องดำเนินคดีผู้กู้และผู้ค้ำประกัน
    – จัดตั้งสถานีแก้หนี้ครู ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั้วประเทศ จำนวน 558 สถานี ทำหน้าที่เป็นคนกลางช่วยเจรจาไกล่เกลี่ย ประนอมหนี้และปรับโครงสร้างหนี้แก่ครูที่ลงทะเบียนขอรับการช่วยเหลือ จำนวน 41,128 ราย รวมมูลค่าหนี้ 58,835 ล้านบาท
    – ปรับโครงสร้างหนี้โดยรวมหนี้มาไว้กับสถาบันการเงินที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำกว่า โดยประสานการดำเนินงานโดยสหกรณ์ออมทรัพย์ครู และไม่ได้ใช้งบประมาณแผ่นดิน
    – ติดอาวุธให้ความรู้และทักษะทางการเงิน โดยประสานงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย สถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง จัดทำหลักสูตรสำหรับพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขอ ศธ. เพื่ออบรมพัฒนาครูให้ครูมีความรู้สามารถวางแผน มีวินัยในการบริหารการเงิน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    – ขยายผลการจัดงานมหกรรมการเงินเพื่อครูไทย 4 ภูมิภาค : เพื่อเปิดโอกาสให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในส่วนภูมิภาคได้รับสิทธิประโยชน์และเงื่อนไขพิเศษจากสถาบันการเงินที่มาร่วมจัดกิจกรรมอย่างทั่วถึง
  • การช่วยเหลือเยียวยาครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้เสียชีวิตอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ จากการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของครูและบุคลากรทางการศึกษา นับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา มีครูถูกกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงทำร้ายจนเสียชีวิต 183 ราย ส่งผลให้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบสนับสนุนสวัสดิการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้เสียชีวิตย้อนหลังไปถึงวันที่ 1 มกราคม 2547 โดยให้ ศธ.จัดสรรงบประมาณในการช่วยเหลือเยียวยา รายละไม่เกิน 4 ล้านบาท มอบให้แก่ทายาทหรือครอบครัวของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบฯ ซึ่งปัจจุบันได้อนุมัติจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้เสียชีวิตฯ จำนวน 8 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 60 ราย ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบฯ เป็นเงินกว่า 158 ล้านบาท

5. กฎหมายการศึกษา

  • พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้มีการร่วมมือระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ในการจัดการศึกษาทุกระดับ อีกทั้งจัดให้มีกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ เพิ่มการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของภาคประชาชน ภาคเอกชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ยกระดับคุณภาพการศึกษา สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตลอดจนสร้างเสริมให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรเพื่อการศึกษา และเสริมสร้างธรรมาภิบาลของระบบการศึกษา จึงต้องมีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ เพื่อเป็นกฎหมายแม่บทในการบริหารและการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาจึงได้ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. เป็นธรรมนูญทางการศึกษาที่มีความสอดคล้องกับเจตนารมณ์ หลักการ และแนวทางของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในวาระที่ 2 และ 3 โดยมีการพิจารณาในวาระที่ 2 ไปแล้วรวม 3 ครั้ง กล่าวคือ การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566 ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2566 และครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 พิจารณาลงมติถึงร่างมาตรา 13
  • พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. …. โดยยกเลิก พ.ร.บ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 ที่ใช้บังคับในปัจจุบัน ซึ่งในมาตรา 24 ของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ให้เปลี่ยนสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็น “กรมส่งเสริมการเรียนรู้” มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นกรมใน ศธ. ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ ศธ. และกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีและปลัด ศธ. ซึ่งทำหน้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ ผ่านการกระจายอำนาจการจัดการเรียนรู้ไปยังหน่วยส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอ ศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล ศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่ ศูนย์หรือสถาบันการเรียนรู้เฉพาะด้านหรือเฉพาะกิจการ รวมถึงภาคีเครือข่าย สถานศึกษา และสถาบันพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้

    ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ได้มีมติเห็นชอบร่างดังกล่าวในวาระ 2 และ 3 ตามที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ เพื่อเข้าสู่กระบวนการในการประกาศใช้กฎหมายต่อไป และเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ได้มีการทวนร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. …. ณ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รวมทั้งได้ชี้แจงนิติกรสำนักองคมนตรี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2566 ขณะนี้อยู่ระหว่างรอลงพระปรมาภิไธย ซึ่ง ศธ.ได้เตรียมจัดทำกฎหมายลำดับรอง อาทิ การปรับปรุงโครงสร้าง ระเบียบกรมส่งเสริมการเรียนรู้ การจัดอัตรากำลังในการดำเนินงาน รวมจำนวน 13 ฉบับ ประกอบด้วย กฎกระทรวง 4 ฉบับ ประกาศกระทรวง 4 ฉบับ ประกาศกรม 1 ฉบับ และระเบียบกรม 4 ฉบับ เพื่อรองรับการประกาศใช้ต่อไป

6. เรื่องอื่น ๆ

  • ทรงผมนักเรียน ศธ.ได้กำหนดให้มีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนหรือนักศึกษาไว้อย่างกว้าง ๆ เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดที่เป็นผู้กำกับดูแลสถานศึกษา กำหนดให้สถานศึกษาแต่ละแห่งนำหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไปกำหนดเป็นระเบียบหรือข้อบังคับของสถานศึกษาแต่ละแห่งเอง ศธ.จึงได้ยกเลิก “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563” ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งแนวนโยบายเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนของสถานศึกษา ในเรื่องการไว้ทรงผมของนักเรียนของสถานศึกษาในสังกัด ศธ. และสถานศึกษาในกำกับดูแลของ ศธ. จะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ โดยสถานศึกษาอาจกำหนดลักษณะทรงผมได้ตามพันธกิจ บริบท และความเหมาะสมของแต่ละสถานศึกษา โดยหารือร่วมกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา ตัวแทนครู ผู้ปกครอง นักเรียน และผู้นำชุมชนนั้น ๆ
  • ชุดเครื่องแบบวิชาลูกเสือ ศธ. ได้รับทราบปัญหาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองท่ามกลางสถานการณ์ Covid-19 โดยมีหนังสือไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2564 และสั่งการย้ำไปยังสถานศึกษาทุกแห่งแล้วว่า สิ่งใดที่ไม่จำเป็นและจะเป็นการสร้างภาระให้แก่ผู้ปกครอง ขอให้สถานศึกษายืดหยุ่นการจัดการเรียนการสอน โดยบางวิชา เช่น วิชาลูกเสือ ที่ต้องมีการแต่งเครื่องแบบก็ไม่จำเป็นจะต้องมีการแต่งเครื่องแบบ แต่ขอให้มีสัญลักษณ์เฉพาะบ่งบอกให้รู้ว่าได้เรียนวิชาลูกเสือ เช่น การสวมใส่ผ้าพันคอ ทั้งนี้ในส่วนวิชาลูกเสือ ถือเป็นวิชาบังคับในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ใช้ปลูกฝังวินัยให้แก่ผู้เรียน และสร้างจิตอาสา การบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่สังคม อาจต้องปรับกิจกรรมการเรียนวิชาลูกเสือ ให้มีความยืดหยุ่นและมีความทันสมัยมากขึ้น รองรับการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

ทั้งนี้ รองปลัด ศธ.ได้มอบหมายให้ผู้แทน สพฐ. จัดทำข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเรียนการสอน Active Learning และวิชาประวัติศาสตร์ และเร่งนำส่งข้อมูลให้ฝ่ายเลขานุการ (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป.) ภายในวันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566

ที่มา:  คลิกที่นี่https://moe360.blog/2023/02/08/822566/